ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (อังกฤษ: Edward Teller, 15 มกราคม ค.ศ. 1908 - 9 กันยายน ค.ศ. 2003) เป็นบิดาของระเบิดไฮโดรเจนที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแทนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในระเบิดนิวเคลียร์แบบดั้งเดิม

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1908 ที่เมืองบูดาเปสต์ ในประเทศฮังการี บิดามีฐานะดี และมีเชื้อชาติยิว ในช่วงเวลานั้นฮังการีกำลังมีความวุ่นวายมาก เพราะถูกยึดครองโดยออสเตรีย และถูกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำลายจนผู้คนในประเทศแตกแยก แล้วถูกคอมมิวนิสต์คุกคามด้วยการเข้าครอบครอง นอกจากนี้รัฐบาลฮังการียังต่อต้านคนยิวด้วยการออกกฎหมายจำกัดจำนวนนักศึกษา เชื้อชาติยิวที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย (numerus clausus) ครอบครัวของเทลเลอร์ก็เช่นเดียวกับครอบครัวชาวยิวอื่นๆ ที่ต่างก็พยายามให้การศึกษาที่ดีแก่ลูกๆ เพื่อให้ไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมนี เพราะที่นั่นมีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสูงกว่า โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และภาษาเยอรมัน ขณะนั้น คือ ภาษาที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกใช้

เมื่ออายุ 18 ปี เทลเลอร์ได้เดินทางไปเรียนวิชาวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัย Karlsruhe และวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค เทลเลอร์ได้รับปริญญาเอกฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Leipzig ในปี 1930 โดยมี Werner Heisenberg (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 1932) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ขณะเรียนที่มิวนิค ในปี ค.ศ. 1928 เทลเลอร์ถูกรถรางแล่นทับเท้าขวาทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัด จนต้องมีไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน และเทลเลอร์จะใช้ไม้เท้ากระแทกพื้นทุกครั้งที่ต้องการเน้นให้ผู้คนสนใจฟังตนพูด

หลังสำเร็จการศึกษา เทลเลอร์ได้งานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย G?ttingen ในปี ค.ศ. 1933 เมื่อนาซีเรืองอำนาจในเยอรมนี เทลเลอร์ต้องอพยพออกนอกประเทศเป็นครั้งที่สอง โดยไม่มีจุดหมายในชีวิตที่แน่นอน รัฐบาลอังกฤษซึ่งมีนโยบายโอบอุ้มนักวิทยาศาสตร์ชาวยิวได้ช่วยให้เทลเลอร์เดินทางไป โคเปนเฮเกน เพื่อทำงานร่วมกับนีลส์ บอร์ แล้วไปลอนดอน จากนั้นได้เดินทางต่อไปสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1935 เพื่อเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยอร์จ วอชิงตัน โดยรับรองของ George Gamow

ในสมัยที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เทลเลอร์ได้รู้จักกับ Leo Szilard ซึ่งเป็นชาวฮังการีอพยพเหมือนกัน สัมพันธภาพนี้ทำให้เทลเลอร์ได้งานทำในโครงการสร้างระเบิดปรมาณูของอเมริกา และความเก่งกล้าสามารถของเทลเลอร์ทำให้เขามีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นๆ ตามลำดับในโครงการแมนฮัตตัน แต่ก็ไม่ถึงระดับหัวหน้า เพราะเทลเลอร์มีนิสัยหลงตัวเอง และคิดว่าตนเองเก่งเหนือคนอื่นๆ อีกทั้งชอบอิจฉาผู้ที่บังคับบัญชาตน ซึ่งในที่นี้คือ J. Robert Oppenheimer

การที่เทลเลอร์ได้ทุ่มเททำงานในโครงการแมนฮัตตันอย่างสุดตัวนั้น เพราะเขารู้สึกรักสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่ตนเป็นชาวฮังการีอพยพ และรู้ดีว่าการอยู่ใต้การปกครองของระบบฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์นั้น ความเป็นอยู่ของผู้คนภายใต้การปกครองสองระบบนี้เป็นอย่างไร เทลเลอร์คิดว่าสหรัฐอเมริกาคือประเทศเดียวเท่านั้นที่จะสามารถคุ้มครองโลกให้รอดพ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ได้ โดยมีทั้งระเบิดปรมาณู และระเบิดไฮโดรเจน

ในปี ค.ศ. 1945 เทลเลอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่คัดค้านการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา เขาต้องการให้ทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือกรุงโตเกียว เพื่อให้คนญี่ปุ่นเห็นพลังงานทำลายล้างของระเบิดมหาประลัย และจะได้รู้สึกกลัว แล้วยอมแพ้สงคราม โดยไม่มีการสูญเสียชีวิตมากมาย แต่ Oppenheimer ผู้รับผิดชอบโครงการผลิตระเบิดไม่เห็นด้วย

หลังจากที่โลกประจักษ์ในอำนาจสังหารของระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ แล้ว Oppenheimer รู้สึกสำนึกผิดในบาปกรรมที่ได้ทำลงไป เขาจึงคัดค้านการสร้างระเบิดไฮโดรเจนที่จะมีอำนาจทำลายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณู ดังนั้น Oppenheimer จึงขัดขวางเทลเลอร์ไม่ให้เดินหน้าสร้างระเบิดไฮโดรเจน

ความขัดแย้งนี้ได้ทำให้ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนมีความลำบากใจ เพราะไม่มั่นใจว่าควรอนุมัติให้อเมริกาสร้างระเบิดไฮโดรเจนหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าอาวุธมหาประลัยนี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด และมีคุณหรือโทษอย่างไร และตัวประธานาธิบดีเองรู้คณิตศาสตร์เพียงเพื่อใช้ในการซื้อของ สำหรับวิชากลศาสตร์ควอนตัมซึ่งเป็นวิชาจำเป็นในการสร้างระเบิดปรมาณูนั้น ทรูแมนไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับวิชานี้เลย ถึงกระนั้นทรูแมนก็ตัดสินใจเชื่อเทลเลอร์ และได้อนุมัติให้เทลเลอร์เดินหน้าสร้างระเบิดไฮโดรเจนในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ 1949 เพราะรู้ข่าวว่ารัสเซียสามารถสร้างระเบิดปรมาณูได้แล้ว

ในช่วงเวลานั้นเทลเลอร์ได้กลับไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และได้ลงมือหาเสียงจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาให้สนับสนุนโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ท่ามกลางเสียงต่อต้านจาก Oppenheimer เพราะเขาคิดว่าลำพังระเบิดปรมาณูก็สามารถทำให้ผู้คนล้มตายเป็นแสนแล้ว การสร้างระเบิดไฮโดรเจนจะทำลายมนุษยชาติอย่างไม่มีใครคาดฝัน โดยส่วนตัวเทเลอร์รู้สึกกตัญญูต่อ Oppenheimer ที่ให้งานทำในโครงการแมนฮัตตัน ทั้งๆที่เทลเลอร์มีญาติเป็นคอมมิวนิสต์ จึงทำให้เป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้ใจ แต่ Oppenheimer ไม่เห็นด้วยกับการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งเทลเลอร์เห็นว่าเป็นความคิดที่ผิดมาก ข้อขัดแย้งนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาตั้งข้อกล่าวหา Oppenheimer ว่าเป็นคนทรยศต่อชาติ และในสมัยนั้นใครก็ตามที่คัดค้านแนวคิดของรัฐบาลเขาจะถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ยิ่งเมื่อกองสอบสวนเอฟบีไอสืบรู้มาว่า Oppenheimer เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจคนเอียงซ้าย และยังติดต่อกับพวกคอมมิวนิสต์ ศาลจึงสั่งสอบสวน Oppenheimer ทันที และศาลได้ถามเทลเลอร์ว่าไว้ใจ Oppenheimer อดีตเจ้านายเก่าเพียงใด หรือไม่ ซึ่งเทลเลอร์ก็ได้ตอบว่า เขาอยากเห็นโครงการระเบิดไฮโดรเจนดำเนินโดยบุคคลที่เขาเข้าใจ และไว้ใจมากกว่า Oppenheimer

การแถลงเช่นนี้ทำให้ Oppenheimer ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้อำนวยโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน ถูกถอดถอนจากตำแหน่งที่ปรึกษาของ Atomic Energy Commission ของสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นบุรุษอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ และศาลสั่งไม่ให้ Oppenheimer ได้รับรู้ข้อมูลใดๆ ในการสร้างระเบิดไฮโดรเจน อีกเลย

การต่อต้าน Oppenheimer เช่นนี้ ทำให้เทลเลอร์มีศัตรูที่เป็นนักวิชาการมากมาย ส่วน Oppenheimer ได้จบชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 1967 ขณะอายุ 62 ปี

ในการสนับสนุนโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจนนั้นเทลเลอร์ได้ตอกย้ำว่าประเทศตะวันตกไม่ควรไว้ใจคอมมิวนิสต์ และควรมีระเบิดนิวเคลียร์ที่ทรงพลังยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูเพื่อคุ้มครอง ถ้าไว้ใจคอมมิวนิสต์ ก็ไม่ควรมีระเบิดไฮโดรเจน แต่ถ้าไม่ไว้ใจก็ควรมี แต่เรื่องจะมีหรือไม่มีนั้นก็ควรดูตัวอย่างจากกรณีปี ค.ศ. 1939 ที่เทลเลอร์และ Leo Szilard ได้ขอร้องอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ให้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ให้อนุมัติโครงการแมนฮัตตันเพื่อสร้างระเบิดปรมาณูให้ได้ก่อนเยอรมนี และระเบิดนี้ได้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด

หลังจากที่อเมริกาผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้ อีก 2 ปีต่อมา รัสเซียก็ผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้เช่นกัน และโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับรัสเซีย

ในช่วงเวลาที่โรนัลด์ เรแกน เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐนั้นเรแกนชื่นชมเทลเลอร์มาก และเทลเลอร์ก็ศรัทธาเรแกนมากเช่นกัน เพราะเขาคิดว่าเรแกนคือทูตที่ฟ้าได้ส่งมาปกป้องอารยธรรมตะวันตกให้ปลอดภัยจากพวกคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเรแกนจึงเชื่อคำพูด และข้อเสนอแนะของที่ปรึกษาเทลเลอร์มาก เช่น เมื่อเทลเลอร์เอ่ยถึงการใช้เลเซอร์พลังงานสูงทำลายจรวดนำวิธีข้ามทวีปของรัสเซียที่บรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ เรแกนผู้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์น้อยกว่าทรูแมน(แฮร์รี เอส. ทรูแมน)แต่รู้เรื่องภาพยนตร์ด้านอวกาศดีกว่าก็ได้อนุมัติโครงการ Star Wars ทันที แต่ในที่สุดโครงการนี้ก็ต้องล้มไป เพราะอเมริกาต้องใช้เงินมหาศาล และเทคโนโลยีก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาดีพอ แต่โครงการนี้ก็ได้ทำให้รัสเซียลงทุนมหาศาลเพื่อพัฒนาสงครามเลเซอร์ และการลงทุนที่มากเกินไป จึงส่งผลให้อาณาจักรรัสเซียต้องล่มสลายในเวลาต่อมา

ดังนั้นในปี ค.ศ. 1987 ที่ประธานาธิบดีเรแกนจัดงานเลี้ยงรับรองนายกรัฐมนตรี Mikhail Gorbachev ที่ทำเนียบขาวเรแกนได้แนะนำ Gorbachev ให้รู้จักเทลเลอร์ว่านี่คือ “The famous Dr. Teller” และ Gorbachev ก็ได้ตอบว่า “There are many Tellers” แล้วปฏิเสธที่จะจับมือกับเทลเลอร์

ผลงานฟิสิกส์ที่สำคัญของเทลเลอร์ คือ การศึกษาบทบาทของอิเล็กตรอน 1 ตัวในการเชื่อมโยงโปรตอน 2 ตัว ในโมเลกุลไฮโดรเจนที่แตกตัวเหลืออิเล็กตรอนตัวเดียว ซึ่งการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต หลังจากนั้นเทลเลอร์ได้ทำงานร่วมกับ Emil Jahn ในการอธิบายเส้นสเปกตรัมของ Benzene ในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลตว่า เกิดจากการบิดเบี้ยวของโมเลกุล ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ Jahn-Teller นอกจากนี้ ก็ยังได้ศึกษาการสลายตัวแบบเบตาของธาตุกัมมันตรังสี โดยได้คำนึงถึงอันตรกริยาระหว่างสปิน (spin) ของ neutrino กับ สปิน (spin) ของนิวเคลียสที่สลายตัว จึงทำให้ทฤษฎีของ Fermi สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นต้น

ในด้านเกียรติยศเทลเลอร์ได้รับรางวัล Albert Einstein, รางวัล Enrico Fermi และเหรียญ National Medal of Science ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะมอบให้แก่ประชาชน และได้รับ Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช เมื่อ 2 เดือนก่อนจะเสียชีวิต ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2003 ด้วย โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน สิริอายุ 95 ปี ที่ Palo Atto ใน California

ณ วันนี้ วงการดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อ ดาวเคราะห์น้อย 5006 ว่าเทลเลอร์ และระลึกถึงเทลเลอร์ว่าถึงเขาจะเป็นคนที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ชอบเล่นเปียโน เทนนิส และปิงปอง ซึ่งเป็นกีฬาราคาถูก แต่เขาคือคนที่ชี้นำประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในการทหาร เช่น ชักจูงให้อเมริกาลงทุนล้านล้านดอลลาร์สร้างอาวุธ สร้างหลุมหลบภัยปรมาณู สนับสนุนโครงการ Strategic Defense Initiative (Star Wars) ที่ล้วนหมดสภาพไปแล้ว แต่เทลเลอร์ก็ไม่เสียใจ เพราะเขารู้ว่าความฟุ่มเฟือยเหล่านี้แหละที่ทำให้รัสเซีย ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของอเมริกาต้องล่มสลาย และนี่คือมรดกสำคัญชิ้นสุดท้ายที่เทลเลอร์ได้มอบให้สหรัฐอเมริกาก่อนจากไป

ในด้านนิสัยส่วนตัว เทลเลอร์ เป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดและความเชื่อของตน อีกทั้งชอบพูดความเชื่อเหล่านั้นอย่างเปิดเผย เขามองเหตุการณ์แทบทุกอย่างในลักษณะขาวหรือดำ และเป็นคนที่เข้าใจคำว่า “อำนาจ” ดี เพราะเขารู้ว่าประธานาธิบดีต่างๆ เชื่อในสิ่งที่เขาพูด ดังนั้น เขาจึงมีศัตรูทางการเมือง และวิชาการพอประมาณ เขาจึงกล่าวว่า คนที่มีศัตรูมาก คือคนที่มีอำนาจมาก ความยึดมั่นในตนเอง และอำนาจเช่นนี้ได้ทำให้ George Keyworth ผู้เป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนคิดว่าเทลเอร์เข้าใจเรื่องอำนาจดีจนสามารถเขียนเรื่อง The Prince ที่ Machiavelli เขียนได้ดีพอๆ กัน

ภายในลูกระเบิดมีระเบิดแบบฟิชชั่นอยู่ด้านบน และตัวเทมเปอร์ทำด้วยยูเรเนียม 238 ภายในเทมเปอร์คือ ลิเทียม-ดิวเทอเรท และแท่งแกนกลางทำจากพลูโตเนียม 239 ช่องว่างทั้งหมดอัดโฟม ขั้นตอนการระเบิดเป็นดังนี้

เมื่อเวลา 7 โมงเช้าของวันที่ 1 พฤศจิกายน ของ ค.ศ. 1952 สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกของโลกบนเกาะ Elugelab ในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น รายงานว่า พลังระเบิดได้ทำให้เกาะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 กิโลเมตรจมหายไปในทะเล จึงนับว่าระเบิดลูกนี้รุนแรงยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่เคยถล่มเมืองฮิโรชิมา เมื่อ ค.ศ. 1945 ถึง 500 เท่า 2 ปีต่อมา สหรัฐอเมริกาก็ประดิษฐ์ระเบิดไฮโดรเจนที่มีอานุภาพทำลายสูงยิ่งขึ้นไปอีก คราวนี้ได้ทดสอบที่เกาะบิกินี และหลังจากนั้นไม่นาน รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ก็มีระเบิดไฮโดรเจนในครอบครอง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406